วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วิธีเขียนข้อเสนอแนะ ในงานวิจัย



วิธีเขียนข้อเสนอแนะ ในงานวิจัย

            ข้อเสนอแนะการวิจัย (recommendation) หมายถึง ประเด็นที่ผู้วิจัย เสนอแนะขึ้นมาจากผลการวิจัยหรือข้อค้นพบจากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญ เพื่อให้ข้อมูล คําแนะนํา แนวทาง หรือวิธีการใดๆ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนํา ข้อเสนอแนะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนา การปรับปรุง การ เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงาน หรือการบริหารจัดการ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนอแนะจึงเป็นส่วนที่สําคัญของการวิจัย เพราะเป็นส่วนที่ผู้อ่านหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้
หลักสําคัญของข้อเสนอแนะ คือ ข้อเสนอแนะต้องมาจากผลการวิจัย และควร เป็นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถนําไปประยุกต์ใช้ให้เกิด ประโยชน์ โดยข้อเสนอแนะอาจเป็นเชิงนโยบายหรือเชิงปฏิบัติก็ได้ และนิยมเขียน เป็นรายข้อ มากกว่าความเรียง



            แนวทางการเขียนข้อเสนอแนะ
            การเขียนข้อเสนอแนะสามารถเขียนได้เป็น 2 ประเด็น ดังนี้

            1. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย
            เป็นข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องเขียนข้อเสนอแนะตาม ผลการวิจัยหรือข้อค้นพบที่ได้ โดยอาจนําเสนอข้อเสนอแนะได้ทั้งในเชิงนโยบาย หรือเชิงปฏิบัติก็ได้ ทั้งนี้ ประการสําคัญคือ ผู้วิจัยควรให้ข้อเสนอแนะในสิ่งที่เป็นไป ได้ ทั้งนี้เพื่อให้ข้อเสนอแนะมีความน่าเชื่อถือ ผู้วิจัยอาจนําข้อมูลจากวรรณกรรมมา อ้างอิงหรือสนับสนุนข้อเสนอแนะนั้นด้วยก็ได้
            การเขียนข้อเสนอแนะ ไม่ควรเขียนกว้างจนเกินไป โดยผู้วิจัยควรให้ ข้อเสนอแนะที่ให้คําตอบชัดเจนว่าผู้ที่เกี่ยวข้องควรทําอะไร ด้วยวิธีการหรือแนวทาง อย่างไร

            2. ข้อเสนอแนะสําหรับการวิจัยในครั้งต่อไป
            งานวิจัยส่วนใหญ่มักจะมีข้อจํากัดหรือข้อบกพร่องอยู่บ้าง เนื่องจากผู้วิจัย ไม่สามารถศึกษาวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ครอบคลุมหรือมีความสมบูรณ์ได้ทุกด้าน เช่น ข้อจํากัดเรื่องขอบเขตเนื้อหาที่ศึกษา การเข้าถึงประชากรหรือการเลือก ตัวอย่าง ตลอดจนระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล หรืองบประมาณ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์หรือมีการพัฒนาต่อไป ผู้วิจัยอาจมี ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยในครั้งต่อไป เพื่อให้ผู้อื่นที่สนใจในหัวข้อใกล้เคียงสามารถ นําประเด็นที่เสนอแนะไว้ไปศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในอนาคต เช่น การขยายขอบเขตการ วิจัย การเพิ่มตัวแปร การศึกษาประชากรกลุ่มอื่นๆ หรือการศึกษาเปรียบเทียบ เป็น ต้น

วิธีการเขียนอภิปรายผล ในงานวิจัย



วิธีการเขียนอภิปรายผล ในงานวิจัย

            การอภิปรายผล (discussion) หมายถึง การนําประเด็นจากข้อค้นพบมาอธิบายหรือขยายความ เพื่อให้เข้าใจผลของการวิจัยได้ชัดเจนขึ้น โดยชี้ให้เห็นถึง ความสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับทฤษฎี หรืองานวิจัยในอดีต พร้อมยกเหตุผล หรือหลักฐานต่างๆ ประกอบการอธิบาย


            แนวทางการอภิปรายผล
            1. การเริ่มต้นอภิปรายผลผู้วิจัยอาจกล่าวถึงสิ่งที่ต้องศึกษาหรือวัตถุประสงค์ การวิจัยเพื่อเกริ่นนําหรือบอกผู้อ่านให้ทราบว่างานวิจัยเรื่องนี้กําลังศึกษาอะไร และ ได้ผลการวิจัยเป็นอย่างไร โดยนําเสนอผลการวิจัยที่ได้ว่ามีอะไรบ้าง ทั้งนี้ ผู้วิจัยควร อภิปรายผลตามหัวข้อหรือประเด็นที่ศึกษา เช่น ตามวัตถุประสงค์การวิจัย ซึ่ง อาจจะทําให้การอภิปรายผลเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน ไม่สับสนและไม่ซ้ําซ้อนกัน
            2. หลังจากนําเสนอผลการวิจัยไปแล้ว ผู้วิจัยจะต้องหาข้อมูลหรือหลักฐานมา ยืนยันผลที่ได้เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ โดยยืนยันผลที่ได้ในลักษณะของความ สอดคล้องหรือไม่สอดคล้อง (ขัดแย้ง) กับผลการวิจัยในอดีต เช่น หากสอดคล้อง ผู้วิจัยอาจระบุว่าผลการวิจัยของตนสอดคล้องกับงานวิจัยในอดีตของใครบ้าง ใน ประเด็นใด หรือหากไม่สอดคล้อง ผู้วิจัยก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าผลการวิจัยของตนไม่ สอดคล้องกับงานวิจัยในอดีตในประเด็นใด เพราะเหตุใด
            3. กรณีที่ไม่มีงานวิจัยในอดีตมาอ้างอิง เนื่องจากงานวิจัยที่ทําอาจเป็นเรื่องใหม่ หรือไม่มีผู้ใดศึกษามาก่อน ทําให้ผู้วิจัยไม่สามารถยืนยันความสอดคล้องงานวิจัยของ ตนเองกับงานวิจัยในอดีตได้ หากเป็นเช่นนั้น ผู้วิจัยจําเป็นต้องอภิปรายผลโดยเน้นไปที่ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง โดยอาจนําข้อมูลเชิงหลักการ แนวคิด หรือทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องมาสนับสนุนผลการวิจัยแทน ในบางกรณีที่ผู้วิจัยไม่สามารถหาข้อมูลเชิง วิชาการมาอ้างอิงได้ อาจจําเป็นต้องใช้ข้อมูลทุติยภูมิอื่นที่มีความน่าเชื่อถือมาอ้างอิง แทน เช่น ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ วารสาร หรือแหล่งข้อมูลบุคคลที่เชื่อถือได้ เป็นต้น
            4. หลังจากผู้วิจัยหาข้อมูลมายืนยันข้อค้นพบโดยการเปรียบเทียบกับงานวิจัยใน อดีตหรือแนวคิดและทฤษฎีแล้ว สิ่งต่อไปคือการให้เหตุผลว่าเพราะเหตุใดผลการวิจัยจึง เป็นเช่นนั้น โดยขยายความหรืออธิบายข้อค้นพบนั้นในเชิงเหตุและผล ซึ่งจะทําให้การ วิจัยมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้วิจัยควรให้เหตุผลประกอบโดยอ้างอิงจากแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่มีอยู่ เพื่อให้การอภิปรายผลนั้นมีความสมเหตุสมผลและมีความ น่าเชื่อถือ เพราะสิ่งเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยมีความรู้และความเข้าใจในสิ่งที่ ตนเองศึกษามากน้อยเพียงใด และมีการประมวลความรู้ต่างๆ เพื่อนํามาอ้างอิงหรือ สนับสนุนผลการวิจัยของตนได้อย่างไร


วิธีการสรุปผลการวิจัย



วิธีการสรุปผลการวิจัย

           การสรุปผลการวิจัย (Conclusion) หมายถึง การเขียนสรุปประเด็นสําคัญ ของการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ศึกษามาทั้งหมด เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาการวิจัยใน ภาพรวมและสามารถจับประเด็นสําคัญได้

            การเขียนสรุปผลการวิจัยอาจทําได้ 2 แบบ คือ
            1. การสรุปผลการวิจัยแบบยาว เป็นการสรุปผลการวิจัยอย่างครบถ้วน โดย เริ่มต้นจากวัตถุประสงค์การวิจัย ขอบเขตการวิจัย ตัวแปรในการวิจัย วิธีการวิจัย ผลการวิจัย สมมติฐานการวิจัย ตามลําดับ
             2. การสรุปผลการวิจัยแบบสั้น เป็นการสรุปผลการวิจัยเฉพาะประเด็นสําคัญ ได้แก่ วัตถุประสงค์ ผลการวิจัย และสมมติฐานการวิจัย

            การเขียนสรุปผลการวิจัย ต้องครอบคลุมประเด็น ดังนี้
            1. ต้องสามารถตอบคําถามหรือปัญหาในการวิจัยที่กําหนดไว้ในวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วน
            2. ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของการวิจัยที่กําหนดไว้
            3. ต้องตรงตามข้อเท็จจริงของข้อมูลที่ได้มาจากผลวิจัย
            4. ต้องพยายามขจัดความลําเอียงส่วนตัว
            5. ต้องเป็นประโยชน์ต่อการนําไปใช้หรือการทําวิจัยเพิ่มเติม

วิธีเขียนการแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ ในงานวิจัย



วิธีเขียนการแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ ในงานวิจัย



                          การแปลความหมายและนําเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพจะเน้นการบรรยายข้อความ โดยทั่วไป ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การบรรยายด้วยถ้อยคํา ซึ่งจะเป็นส่วนหลัก กับการนําเสนอด้วยรูปภาพ ซึ่งเป็นส่วนเสริมให้การนําเสนอมีความน่าสนใจ



วิธีเขียนแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ ในงานวิจัย


วิธีเขียนแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ ในงานวิจัย

         การแปลความหมายของข้อมูล หมายถึง การนําเอาข้อมูลที่ได้วิเคราะห์แล้ว มาอธิบายหรือขยายความเพิ่มเติม เพื่อให้บุคคลทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
            การแปลความหมายของข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
            1. การแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ
            2. การแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ
           
            1. การแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ
            1) องค์ประกอบของการแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูล มักจะ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
                        1.1) ส่วนหัวเรื่อง เป็นส่วนที่ระบุชื่อตาราง แผนภูมิ กราฟ
                        1.2) ส่วนแสดงผล เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลในรูปของตาราง แผนภูมิ กราฟ
                      1.3) ส่วนเนื้อหา เป็นส่วนที่แปลความหมายของข้อมูล โดยเขียนเป็น ข้อความเพื่อบรรยายข้อมูลที่แสดงในตาราง แผนภูมิ กราฟ
            2) ลักษณะการนําเสนอข้อมูล ควรเขียนข้อความเพื่อบรรยายหรืออธิบาย ข้อมูลตามสิ่งที่นําเสนอ ทั้งนี้ ข้อมูลบางชุดอาจมีตัวแปรจํานวนมาก ดังนั้น ผู้วิจัย ควรนําเสนอและเขียนบรรยายเฉพาะข้อมูลที่สําคัญ หรือน่าสนใจ โดยไม่จําเป็นต้อง อธิบายทุกตัว โดยการแปลความหมายของข้อมูลจะไม่มีการอภิปรายผล หรือให้ เหตุผลประกอบ เนื่องจากเป็นส่วนที่นําเสนอผลเพียงอย่างเดียว
            3) ความชัดเจนในการนําเสนอ ควรนําเสนอข้อมูลให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์การวิจัย โดยนําเสนอข้อมูลให้ชัดเจน เขียนให้กระชับ และอ่านเข้าใจง่าย

-----------------------

การแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลค่าร้อยละ มี 2 ประเภท คือ
            1) การแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลค่าร้อยละ
            เป็นการตีความหรือแปลผลอธิบายข้อมูลการวิจัยที่เป็นตัวเลขให้เป็นภาษา เขียน เพื่อให้ผู้ผ่านเข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งมีหลักการว่า ถ้าหากผลการวิเคราะห์มีข้อมูล จํานวนมาก ก็ให้แปลผลจากค่าสูงสุด ค่ารองลงมา และค่าต่ําสุด แต่ถ้ามีข้อมูล เพียง 3-4 หัวข้อ ก็ให้แปลผลทั้งหมด พร้อมทั้งอธิบายว่าทําไมผลจึงเป็นเช่นนี้

             จากตารางที่ 4 แสดงข้อมูลทั่วไปของนักท่องเที่ยวเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี จําแนกตามเพศ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจํานวน 238 คน คิดเป็นร้อยละ 59.5 และเพศชาย มีจํานวน 162 คน คิดเป็นร้อยละ 40.5

            การจําแนกนักท่องเที่ยวตามอายุ พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีอายุน้อยกว่าหรือ เท่ากับ 20 ปี มีจํานวนมากที่สุดคือ 96 คน คิดเป็นร้อยละ 24.0 รองลงมาคือช่วง อายุระหว่าง 21-30 ปี จํานวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 23.0 คน และช่วงอายุ ระหว่าง 41-50 ปี จํานวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 21.8 คน ตามลําดับ ส่วนช่วงอายุ มากกว่าหรือเท่ากับ 61 ปี มีจํานวนน้อยที่สุด คือ 11 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7

แบบฝึกหัดการเขียนอธิบาย
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
            2) การตีความผลข้อมูลจากค่าเฉลี่ย (Mean/X )และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D)
            เป็นการนําค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มาตีความอธิบายผลเป็น ภาษาเขียน โดยอธิบายค่าเฉลี่ยควบคู่ไปกับค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ถ้าหาก S.D. มีค่ามากกว่า 1 จะต้องอธิบายว่ามีการกระจายของข้อมูลมาก แต่ถ้าค่า S.D. มีค่า เท่ากับศูนย์ หรือเข้าใกล้ศูนย์ ก็อธิบายว่ามีการกระจายของข้อมูลน้อยหรือมีความ คิดเห็นใกล้เคียงกันหรือเหมือนกัน
                                               การตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยทางการท่องเที่ยว
            จากตารางที่ 6 แสดงข้อมูลระดับแรงจูงใจในการท่องเที่ยวโดยรวม พบว่า นักท่องเที่ยวมีแรงจูงใจในการท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.79) เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก เรียงลําดับ จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริการ (X = 4.18) ด้านสิ่งดึงดูดใจในการ ท่องเที่ยว (X = 4.05) ด้านการเดินทาง (X = 3.99) ด้านจุดมุ่งหมายในการ ท่องเที่ยว (X = 3.73) และด้านสิ่งอํานวยความสะดวก (X = 3.63) ตามลําดับ ส่วนการท่องเที่ะดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์ (X = 3.26)


วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

HW204 การวางแผนและดำเนินการจัดนำเที่ยว บทที่3

รถเมล์-เด็กท่องเที่ยว


บทที่3
ประเภทของการจัดนำเที่ยว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดนำเที่ยวโดยทั่วไป
การจัดนำเที่ยวทั่วไปสามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
                1. จัดตามความต้องการของนักท่องเที่ยว การจัดนำเที่ยวประเภทนี้จะกำหนดงบประมาณต่างๆ ให้สนองตอบความต้องการของนักท่องเที่ยวให้มากที่สุด และสามารถสร้างความประทับใจ โดยการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเดินทาง
                2. การจัดรายการนำเที่ยวที่เตรียมไว้แล้ว แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 Collective Tour คือการจัดรายการนำเที่ยวที่บริษัทนำเที่ยวเป็นผู้กำหนดรายการนำเที่ยวทั้งหมดเป็นแบบเหมสจ่าย (Package Tour)
2.2 Incentive Tour คือ การจัดนำเที่ยวโดยมีลูกค้าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการในบางเรื่องหรือทุกเรื่อง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดนำเที่ยวที่เป็นสากล
1. การจัดนำเที่ยวในประเทศ (Domestic)
                เป็นการจัดนำเที่ยวที่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศไทย ได้ท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวในเมืองไทย การจัดนำเที่ยวจะเป็นเช้าไป-เย็นกลับ หรือจัดในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่นิยมนำเที่ยวโดยรถโค้ช
2. การจัดนำเที่ยวเข้าประเทศ (Inbound Tour)
                เป็นการจัดนำเที่ยวให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย โดยบริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศจะติดต่อสาขาประจำประเทศไทย โดยการจัดนำเที่ยวนี้สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
                2.1 จัดตามความต้องการของบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศ
                2.2 บริษัทนำเที่ยวไทยจัดเสนอขายบริการท่องเที่ยวต่างๆ ไปยังบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งได้แก่
                     1) จัดเป็น Package Tour
                     2) จัดเป็น Package Tour สำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
                     3) จัดโปรแกรมนำเที่ยวสำหรับโอกาสพิเศษ หรือเทศกาล
                     4) จัด Pre-post Tour จัดนำเที่ยวก่อนหรือหลังการจัดประชุม
                     5) จัดโปรแกรมให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น
                     6) จัดโปรแกรมสำหรับรับประทานอาหารและผลไม้ไทย
                     7) จัดตามความต้องการขององค์กรหรือหน่วยงาน
                     8) จัดบริการรับส่ง Transfer-In, Transfer-Out
3. การจัดนำเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tour)
เป็นการจัดนำเที่ยวที่นำนักท่องเที่ยวไทยออกไปเที่ยวนอกประเทศ โดยบริษัทนำเที่ยวจะติดต่อผ่านบริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดนำเที่ยวโดยแบ่งตามขนาด
                1. Foreign Independent Tour or Free Independent Travelers (FIT) เป็นการจัดนำเที่ยวส่วนบุคคล หรือครอบครัวมากกว่าจะจัดเป็นกลุ่ม เป็นการจัดนำเที่ยวพิเศษ
                2. Group Inclusive (GIT) คือการจัดนำเที่ยวแบบกลุ่มให้กับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางกับบริษัทนำเที่ยว โดยการจัดนำเที่ยวนี้อาจแยกได้ 2 ประเภท คือ
                - กรุ๊ปจัด คือ การจัดนำเที่ยวให้กับลูกค้าที่มาจากการซื้อทัวร์หน้าร้าน
                - กรุ๊ปเหมา คือ การจัดนำเที่ยวให้กับลูกค้าที่ต้องการเดินทางเป็นหมู่คณะ เฉพาะคณะของตน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดนำเที่ยวตามวิธีการ
1. การจัดนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Package Tour)
เป็นลักษณะการจัดทัวร์สำหรับหมู่คณะตั้งแต่ 5-10 คนขึ้นไป (ท่องเที่ยวในหมู่เพื่อนสนิท ญาติมิตรในครอบครัว) นอกจากนี้ยังสามารถรับจัดประชุม สัมมนา ดูงานสำหรับโรงงาน  ห้างร้าน บริษัท หน่วยงานราชการ นอกจากนี้ยังอาจรับจัดทัวร์สำหรับกลุ่มที่สนใจเฉพาะเรื่อง เช่น ทัวร์ปีนเขา ทัวร์ดำน้ำ ดูนก เปป็นต้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
                1.1 ทัวร์นำเที่ยวเหมาจ่ายอิสระ เป็นการจัดนำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการอิสระในการท่องเที่ยวเอง มีการเลือกซื้อสินค้ากับบริษัทนำเที่ยวตามความต้องการ เช่น ตั๋วเครื่องบิน ที่พัก การบริการรับส่ง
                1.2 ทัวร์นำเที่ยวเหมาจ่ายพร้อมบริการ เป็นการจัดนำเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวซื้อสินค้า บริการ ในราคาเหมาจ่าย ณ จุดปลายทางแต่ละแห่ง
                1.3 ทัวร์นำเที่ยวเหมาจ่ายพร้อม "มีเพื่อนเดินทาง" หมายถึงบุคคลากรของบริษัทนำเที่ยวที่เดินทางไปพร้อมกับกลุ่มทัวร์
2. การจัดนำเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ (Inclusive Tour) คล้ายกับ Package Tour เพียงแต่เป็นการจัดนำเที่ยวที่มีกำหนดการนำเที่ยวตั้งแต่ออกเดินทางจนถึงการเดินทางกลับที่แน่นอน
3. การจัดนำเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentive Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวให้กับหน่วยงาน หรือพนักงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นโบนัส รางวัล หรือค่าตอบแทนในความสำเร็จ
4. การจัดนำเที่ยวแบบเช่าเหมาลำ (Charter Tour) นิยมในการจัดนำเที่ยวระหว่างประเทศ โดยบริษัทนำเที่ยวจะเช่าเหมาเครื่องบินทั้งลำ เพื่อรับนักท่องเที่ยวจากจุดหมายหนึ่งไปยังอีกจุดหมายปลายทางหนึ่ง

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดนำเที่ยวตามลักษณะจุดหมายปลายทาง
1. การจัดนำเที่ยวในเมือง หรือการเที่ยวชมเมือง (City Tour) การเที่ยวชมสภาพแวดล้อมภายในตัวเมือง เยี่ยมชมสถานที่สำคัญของเมือง การจัดนำเที่ยวลักษณะนี้จะมีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นเป็นผู้บรรยายภายในรถโดยสาร เพื่อให้ทราบว่าสองข้างทางที่ผ่านมีอาคาร ร้านค้า ย่านสำคัญอะไรบ้าง
2. การจัดนำเที่ยวชมสถานที่หรือเที่ยวชมภูมิทัศน์ (Sightseeing Tour หรือ Excursion Tour) การเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวที่มีจุดเด่นทางการท่องเที่ยวตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งขณะเดินทางจะมีโอกาสเพลิดเพลินกับทิวทัศน์สองข้างทางที่ผ่านไปด้วย
3. การจัดนำเที่ยวแลห่งบันเทิงยามราตรี (Night Tour) การเที่ยวชมความงามของแสงสีเสียงยามราตรี และเที่ยวกลางคืนตามสถานบันเทิงเริงรมย์ ของการแสดง คอนเสิร์ต เป็นต้น
4. การจัดนำเที่ยวโดยเน้นการซื้อของ (Shopping Tour) การเที่ยวจับจ่ายซื้อของไม่ว่าจะเป็นของใช้ อุปโภค บริโภค ของที่ระลึก ของฝาก ทำให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสศึกษาวิธีการทำหรือผลิตสินค้าพื้นเมือง รวมถึงการซื้อของในห้างสรรพสินค้า

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดนำเที่ยวตามวัตถุประสงค์
มีลักษณะคล้ายกับการจัดนำเที่ยวโดยทั่วไป คือ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. การจัดนำเที่ยวตามวัตถุประสงค์ของบริษัท
2. การจัดนำเที่ยวตามวัตถุประสงค์ของนักท่องเที่ยว

ประเภทของนักท่องเที่ยวตามวัตถุประสงค์ คือ
1. กลุ่มที่เดินทางไปพักผ่อนหาความสนุกสนานเพลิดเพลิน
2. กลุ่มที่เดินทางไปทำธุรกิจ เช่น ประชุม สัมนา
3. กลุ่มที่เดินทางโดยมีจุดมุ่งหมายพิเศษ เช่น เดินป่า ดำน้ำ เล่นสกี ตีกอล์ฟ การศึกษา และจารึกสแวงบุญ

รูปแบบการท่องเที่ยวตามวัตถุประสงค์
- การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) การท่องเที่ยวทีมีเจตนาจะสร้างผลกระทบให้น้อยที่สุดต่อสภาพแวดล้อม และวัมนธรรมของผู้อยู่อาศัยในชุมชนนั้นๆ แต่ยังสามารถเพิ่มงาน เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้
- การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism-CBT) การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม กำหนดทิศทางโยดชุมชน จัดการโดยชุมชน เพื่อชุมชน และชุนมีบทบาทเป็นเจ้าของ มีสิทธิ์ในการจัดดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน
- การนำเที่ยวชนบท (Rural Tour) เป็นการท่องเที่ยวที่มีโอกาสสัมผัสวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างอย่างตรงกันข้ามกับที่ปรากฏในเมือง
- การท่องเที่ยวเนิบช้า (Slow Tourism)