วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วิธีเขียนแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ ในงานวิจัย


วิธีเขียนแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ ในงานวิจัย

         การแปลความหมายของข้อมูล หมายถึง การนําเอาข้อมูลที่ได้วิเคราะห์แล้ว มาอธิบายหรือขยายความเพิ่มเติม เพื่อให้บุคคลทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
            การแปลความหมายของข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
            1. การแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ
            2. การแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ
           
            1. การแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ
            1) องค์ประกอบของการแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูล มักจะ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
                        1.1) ส่วนหัวเรื่อง เป็นส่วนที่ระบุชื่อตาราง แผนภูมิ กราฟ
                        1.2) ส่วนแสดงผล เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลในรูปของตาราง แผนภูมิ กราฟ
                      1.3) ส่วนเนื้อหา เป็นส่วนที่แปลความหมายของข้อมูล โดยเขียนเป็น ข้อความเพื่อบรรยายข้อมูลที่แสดงในตาราง แผนภูมิ กราฟ
            2) ลักษณะการนําเสนอข้อมูล ควรเขียนข้อความเพื่อบรรยายหรืออธิบาย ข้อมูลตามสิ่งที่นําเสนอ ทั้งนี้ ข้อมูลบางชุดอาจมีตัวแปรจํานวนมาก ดังนั้น ผู้วิจัย ควรนําเสนอและเขียนบรรยายเฉพาะข้อมูลที่สําคัญ หรือน่าสนใจ โดยไม่จําเป็นต้อง อธิบายทุกตัว โดยการแปลความหมายของข้อมูลจะไม่มีการอภิปรายผล หรือให้ เหตุผลประกอบ เนื่องจากเป็นส่วนที่นําเสนอผลเพียงอย่างเดียว
            3) ความชัดเจนในการนําเสนอ ควรนําเสนอข้อมูลให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์การวิจัย โดยนําเสนอข้อมูลให้ชัดเจน เขียนให้กระชับ และอ่านเข้าใจง่าย

-----------------------

การแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลค่าร้อยละ มี 2 ประเภท คือ
            1) การแปลความหมายและการนําเสนอข้อมูลค่าร้อยละ
            เป็นการตีความหรือแปลผลอธิบายข้อมูลการวิจัยที่เป็นตัวเลขให้เป็นภาษา เขียน เพื่อให้ผู้ผ่านเข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งมีหลักการว่า ถ้าหากผลการวิเคราะห์มีข้อมูล จํานวนมาก ก็ให้แปลผลจากค่าสูงสุด ค่ารองลงมา และค่าต่ําสุด แต่ถ้ามีข้อมูล เพียง 3-4 หัวข้อ ก็ให้แปลผลทั้งหมด พร้อมทั้งอธิบายว่าทําไมผลจึงเป็นเช่นนี้

             จากตารางที่ 4 แสดงข้อมูลทั่วไปของนักท่องเที่ยวเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี จําแนกตามเพศ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจํานวน 238 คน คิดเป็นร้อยละ 59.5 และเพศชาย มีจํานวน 162 คน คิดเป็นร้อยละ 40.5

            การจําแนกนักท่องเที่ยวตามอายุ พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีอายุน้อยกว่าหรือ เท่ากับ 20 ปี มีจํานวนมากที่สุดคือ 96 คน คิดเป็นร้อยละ 24.0 รองลงมาคือช่วง อายุระหว่าง 21-30 ปี จํานวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 23.0 คน และช่วงอายุ ระหว่าง 41-50 ปี จํานวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 21.8 คน ตามลําดับ ส่วนช่วงอายุ มากกว่าหรือเท่ากับ 61 ปี มีจํานวนน้อยที่สุด คือ 11 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7

แบบฝึกหัดการเขียนอธิบาย
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
            2) การตีความผลข้อมูลจากค่าเฉลี่ย (Mean/X )และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D)
            เป็นการนําค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มาตีความอธิบายผลเป็น ภาษาเขียน โดยอธิบายค่าเฉลี่ยควบคู่ไปกับค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ถ้าหาก S.D. มีค่ามากกว่า 1 จะต้องอธิบายว่ามีการกระจายของข้อมูลมาก แต่ถ้าค่า S.D. มีค่า เท่ากับศูนย์ หรือเข้าใกล้ศูนย์ ก็อธิบายว่ามีการกระจายของข้อมูลน้อยหรือมีความ คิดเห็นใกล้เคียงกันหรือเหมือนกัน
                                               การตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยทางการท่องเที่ยว
            จากตารางที่ 6 แสดงข้อมูลระดับแรงจูงใจในการท่องเที่ยวโดยรวม พบว่า นักท่องเที่ยวมีแรงจูงใจในการท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.79) เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก เรียงลําดับ จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริการ (X = 4.18) ด้านสิ่งดึงดูดใจในการ ท่องเที่ยว (X = 4.05) ด้านการเดินทาง (X = 3.99) ด้านจุดมุ่งหมายในการ ท่องเที่ยว (X = 3.73) และด้านสิ่งอํานวยความสะดวก (X = 3.63) ตามลําดับ ส่วนการท่องเที่ะดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์ (X = 3.26)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น