วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

HW204 การวางแผนและดำเนินการจัดนำเที่ยว บทที่3

รถเมล์-เด็กท่องเที่ยว


บทที่3
ประเภทของการจัดนำเที่ยว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดนำเที่ยวโดยทั่วไป
การจัดนำเที่ยวทั่วไปสามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
                1. จัดตามความต้องการของนักท่องเที่ยว การจัดนำเที่ยวประเภทนี้จะกำหนดงบประมาณต่างๆ ให้สนองตอบความต้องการของนักท่องเที่ยวให้มากที่สุด และสามารถสร้างความประทับใจ โดยการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเดินทาง
                2. การจัดรายการนำเที่ยวที่เตรียมไว้แล้ว แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 Collective Tour คือการจัดรายการนำเที่ยวที่บริษัทนำเที่ยวเป็นผู้กำหนดรายการนำเที่ยวทั้งหมดเป็นแบบเหมสจ่าย (Package Tour)
2.2 Incentive Tour คือ การจัดนำเที่ยวโดยมีลูกค้าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการในบางเรื่องหรือทุกเรื่อง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดนำเที่ยวที่เป็นสากล
1. การจัดนำเที่ยวในประเทศ (Domestic)
                เป็นการจัดนำเที่ยวที่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศไทย ได้ท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวในเมืองไทย การจัดนำเที่ยวจะเป็นเช้าไป-เย็นกลับ หรือจัดในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่นิยมนำเที่ยวโดยรถโค้ช
2. การจัดนำเที่ยวเข้าประเทศ (Inbound Tour)
                เป็นการจัดนำเที่ยวให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย โดยบริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศจะติดต่อสาขาประจำประเทศไทย โดยการจัดนำเที่ยวนี้สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
                2.1 จัดตามความต้องการของบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศ
                2.2 บริษัทนำเที่ยวไทยจัดเสนอขายบริการท่องเที่ยวต่างๆ ไปยังบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งได้แก่
                     1) จัดเป็น Package Tour
                     2) จัดเป็น Package Tour สำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
                     3) จัดโปรแกรมนำเที่ยวสำหรับโอกาสพิเศษ หรือเทศกาล
                     4) จัด Pre-post Tour จัดนำเที่ยวก่อนหรือหลังการจัดประชุม
                     5) จัดโปรแกรมให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น
                     6) จัดโปรแกรมสำหรับรับประทานอาหารและผลไม้ไทย
                     7) จัดตามความต้องการขององค์กรหรือหน่วยงาน
                     8) จัดบริการรับส่ง Transfer-In, Transfer-Out
3. การจัดนำเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tour)
เป็นการจัดนำเที่ยวที่นำนักท่องเที่ยวไทยออกไปเที่ยวนอกประเทศ โดยบริษัทนำเที่ยวจะติดต่อผ่านบริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดนำเที่ยวโดยแบ่งตามขนาด
                1. Foreign Independent Tour or Free Independent Travelers (FIT) เป็นการจัดนำเที่ยวส่วนบุคคล หรือครอบครัวมากกว่าจะจัดเป็นกลุ่ม เป็นการจัดนำเที่ยวพิเศษ
                2. Group Inclusive (GIT) คือการจัดนำเที่ยวแบบกลุ่มให้กับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางกับบริษัทนำเที่ยว โดยการจัดนำเที่ยวนี้อาจแยกได้ 2 ประเภท คือ
                - กรุ๊ปจัด คือ การจัดนำเที่ยวให้กับลูกค้าที่มาจากการซื้อทัวร์หน้าร้าน
                - กรุ๊ปเหมา คือ การจัดนำเที่ยวให้กับลูกค้าที่ต้องการเดินทางเป็นหมู่คณะ เฉพาะคณะของตน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดนำเที่ยวตามวิธีการ
1. การจัดนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Package Tour)
เป็นลักษณะการจัดทัวร์สำหรับหมู่คณะตั้งแต่ 5-10 คนขึ้นไป (ท่องเที่ยวในหมู่เพื่อนสนิท ญาติมิตรในครอบครัว) นอกจากนี้ยังสามารถรับจัดประชุม สัมมนา ดูงานสำหรับโรงงาน  ห้างร้าน บริษัท หน่วยงานราชการ นอกจากนี้ยังอาจรับจัดทัวร์สำหรับกลุ่มที่สนใจเฉพาะเรื่อง เช่น ทัวร์ปีนเขา ทัวร์ดำน้ำ ดูนก เปป็นต้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
                1.1 ทัวร์นำเที่ยวเหมาจ่ายอิสระ เป็นการจัดนำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการอิสระในการท่องเที่ยวเอง มีการเลือกซื้อสินค้ากับบริษัทนำเที่ยวตามความต้องการ เช่น ตั๋วเครื่องบิน ที่พัก การบริการรับส่ง
                1.2 ทัวร์นำเที่ยวเหมาจ่ายพร้อมบริการ เป็นการจัดนำเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวซื้อสินค้า บริการ ในราคาเหมาจ่าย ณ จุดปลายทางแต่ละแห่ง
                1.3 ทัวร์นำเที่ยวเหมาจ่ายพร้อม "มีเพื่อนเดินทาง" หมายถึงบุคคลากรของบริษัทนำเที่ยวที่เดินทางไปพร้อมกับกลุ่มทัวร์
2. การจัดนำเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ (Inclusive Tour) คล้ายกับ Package Tour เพียงแต่เป็นการจัดนำเที่ยวที่มีกำหนดการนำเที่ยวตั้งแต่ออกเดินทางจนถึงการเดินทางกลับที่แน่นอน
3. การจัดนำเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentive Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวให้กับหน่วยงาน หรือพนักงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นโบนัส รางวัล หรือค่าตอบแทนในความสำเร็จ
4. การจัดนำเที่ยวแบบเช่าเหมาลำ (Charter Tour) นิยมในการจัดนำเที่ยวระหว่างประเทศ โดยบริษัทนำเที่ยวจะเช่าเหมาเครื่องบินทั้งลำ เพื่อรับนักท่องเที่ยวจากจุดหมายหนึ่งไปยังอีกจุดหมายปลายทางหนึ่ง

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดนำเที่ยวตามลักษณะจุดหมายปลายทาง
1. การจัดนำเที่ยวในเมือง หรือการเที่ยวชมเมือง (City Tour) การเที่ยวชมสภาพแวดล้อมภายในตัวเมือง เยี่ยมชมสถานที่สำคัญของเมือง การจัดนำเที่ยวลักษณะนี้จะมีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นเป็นผู้บรรยายภายในรถโดยสาร เพื่อให้ทราบว่าสองข้างทางที่ผ่านมีอาคาร ร้านค้า ย่านสำคัญอะไรบ้าง
2. การจัดนำเที่ยวชมสถานที่หรือเที่ยวชมภูมิทัศน์ (Sightseeing Tour หรือ Excursion Tour) การเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวที่มีจุดเด่นทางการท่องเที่ยวตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งขณะเดินทางจะมีโอกาสเพลิดเพลินกับทิวทัศน์สองข้างทางที่ผ่านไปด้วย
3. การจัดนำเที่ยวแลห่งบันเทิงยามราตรี (Night Tour) การเที่ยวชมความงามของแสงสีเสียงยามราตรี และเที่ยวกลางคืนตามสถานบันเทิงเริงรมย์ ของการแสดง คอนเสิร์ต เป็นต้น
4. การจัดนำเที่ยวโดยเน้นการซื้อของ (Shopping Tour) การเที่ยวจับจ่ายซื้อของไม่ว่าจะเป็นของใช้ อุปโภค บริโภค ของที่ระลึก ของฝาก ทำให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสศึกษาวิธีการทำหรือผลิตสินค้าพื้นเมือง รวมถึงการซื้อของในห้างสรรพสินค้า

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดนำเที่ยวตามวัตถุประสงค์
มีลักษณะคล้ายกับการจัดนำเที่ยวโดยทั่วไป คือ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. การจัดนำเที่ยวตามวัตถุประสงค์ของบริษัท
2. การจัดนำเที่ยวตามวัตถุประสงค์ของนักท่องเที่ยว

ประเภทของนักท่องเที่ยวตามวัตถุประสงค์ คือ
1. กลุ่มที่เดินทางไปพักผ่อนหาความสนุกสนานเพลิดเพลิน
2. กลุ่มที่เดินทางไปทำธุรกิจ เช่น ประชุม สัมนา
3. กลุ่มที่เดินทางโดยมีจุดมุ่งหมายพิเศษ เช่น เดินป่า ดำน้ำ เล่นสกี ตีกอล์ฟ การศึกษา และจารึกสแวงบุญ

รูปแบบการท่องเที่ยวตามวัตถุประสงค์
- การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) การท่องเที่ยวทีมีเจตนาจะสร้างผลกระทบให้น้อยที่สุดต่อสภาพแวดล้อม และวัมนธรรมของผู้อยู่อาศัยในชุมชนนั้นๆ แต่ยังสามารถเพิ่มงาน เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้
- การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism-CBT) การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม กำหนดทิศทางโยดชุมชน จัดการโดยชุมชน เพื่อชุมชน และชุนมีบทบาทเป็นเจ้าของ มีสิทธิ์ในการจัดดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน
- การนำเที่ยวชนบท (Rural Tour) เป็นการท่องเที่ยวที่มีโอกาสสัมผัสวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างอย่างตรงกันข้ามกับที่ปรากฏในเมือง
- การท่องเที่ยวเนิบช้า (Slow Tourism)










วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

HW204 การวางแผนและดำเนินการจัดนำเที่ยว บทที่2



บทที่2 
องค์ประกอบในการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

องค์ประกอบของการจัดรายการนำเที่ยว
หลักในการวางแผนจัดนำเที่ยว สิ่งที่ต้องคำนึงคือ ข้อมูลเรื่ององค์ประกอบในการจัดนำเที่ยว ประกอบกับการได้สำรวจเส้นทางเพื่อนำมาพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ในการจัดนำเที่ยว
องค์ประกอบของรายการจัดนำเที่ยว ได้แก่
1. พาหนะที่ใช้นำเที่ยว
2. โรงแรมหรือที่พัก
3. ภัตตาคารหรือร้านอาหาร
4. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
5. การบริการนำเที่ยวจากหัวหน้าทัวร์หรือมัคคุเทศก์
6. แหล่งซื้อของ

1. ยานพาหนะ (Transportation)
                ยานพาหนะนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในธุรกิจนำเที่ยว เพราะเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการนำนักท่องเที่ยว ให้เดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ถ้ามียานพาหนะดีนักท่องเที่ยวก็จะชมว่าบริษัทดีตามไปด้วย โดยยานพาหนะที่นิยมใช้ในการท่องเที่ยวได้แก่
                1.1 พาหนะในการจัดนำเที่ยวทางบก
                                1.1.1 รถโค้ช
                                ปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นในด้านขนาด รุ่น และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งได้แก่ ห้องน้ำที่มีอุปกรณ์ครบครัน มินิบาร์ มีหน้าต่างกว้างสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้กว้างขวางมากขึ้น โดยรถโค้ชที่มีบริการอยู่ในประเทศไทยมีหลายขนาด สามารถรองรับผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 20 คน จนถึง 60 คน มีตั้งแต่หนึ่งขั้น ชั้นครึ่ง และสองชั้น
                                1.1.2 รถตู้
                                ในปัจจุบันการจัดนำเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีสภาพการเข้าถึงที่ยากลำบาก สภาพทางที่เป็นเนินขึ้นเขา ทางที่แคบ รถโค้ชไม่สามารถขับเข้าถึงได้ หรือการจัดนำเที่ยวให้กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นครอบครัวหรือกลุ่มขนาดเล็ก
                                1.1.3 รถไฟ
                                รถไฟมีความสามารถในการบันทุกผู้โดยสารได้มาก ในระยะหลังได้พัฒนาให้เป็นรถไฟสำราญเพื่อการท่องเที่ยว โดยเพิ่มห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องพักผ่อน โทรทัศน์ วีดีทัศน์ เป็นต้น
                                การจัดนำเที่ยวโดยรถไฟ ผู้จัดนำเที่ยวจะต้องคำนึงถึงระยะทาง และสถานีที่จะขึ้น-ลงรถไฟ
                1.2 พาหนะในการจัดนำเที่ยวทางอากาศ
                เป็นพาหนะที่ดีที่สุดสำหรับเดินทางระยะไกลๆ โดยเครื่องบินในปัจจุบันสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้เป็นจำนวนมาก การจัดนำเที่ยวโดยเครื่องบินแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
                                1.2.1 การจัดนำเที่ยวในสายการบินบริการแบบประจำ
                                1.2.2 การจัดนำเที่ยวในสายการบินบริการเช่าเหมาลำ
                                                - การเช่าเหมาลำในโอกาสต่างๆ
                                                - การเช่าเหมาลำเพื่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวหลายๆแห่ง
                                                - การเช่าเหมาลำเพื่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวใดแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งเป็นประจำ
                1.3 ยานพาหนะในการจัดนำเที่ยวทางน้ำ
                เรือเป็นยานพาหนะที่นำมาใช้ในการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น แต่การเดินทางทางเรือเพื่อการท่องเที่ยวจะเสียค่าใช้จ่ายค่อนค่างสูง เพราะต้องใช้เวลาในการเดินทางอยู่ในเรือนานกว่ายานพาหนะประเภทอื่นๆ การเดินทางโดยเรือได้พัฒนาให้มีความก้าวหน้าเป็นเรือขนาดใหญ่ และสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้นับพันคน นอกจากนี้ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางเรือครบครัน เช่น เรือสำราญได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวแบบครบวงจร นอกจากจะเป็นพาหนะที่นำนักท่องเที่ยวไปยังจุดหมายปลายทางแล้ว ยังเป็นที่พักแรมสำหรับตากอากาศไปในตัว
                การเดินทางทางเรือมีหลายลักษณะ ผู้ที่จัดนำเที่ยวจะต้องพิจารณาเลือกให้กับวัตถุประสงค์ของการจัดนำเที่ยว ซึ่งอาจจะจัดได้หลายวิธี ดังนี้
                1. เดินทางโดยเรือตลอดระยะเวลาของการนำเที่ยว
                2. เดินทางโดยเรือในบางจุดหมายปลายทางหรือบางเมือง
                3. เดินทางโดยเรือเพื่อต่อไปยังอีกจุดหมายปลายทางหนึ่ง
                4. เดินทางโดยเรือเพื่อชมทิวทัศน์
                
                1.4 พาหนะในการจัดนำเที่ยวอื่นๆ
                ตัวอย่างรายการนำเที่ยวที่อาจจะใช้ยานพาหนะอื่นๆ
                - รายการนำเที่ยวรถรางรอบเกาะรัตนโกสินทร์
                - รายการนำเที่ยวชมวิวรอบเกาะลังกาวีโดยกระเช้าไฟฟ้า
                - รายการนำเที่ยวขี่จักรยานภูเขาชมผีเสื้อ ณ ดอยอินทนนท์
                - รายการนำเที่ยวโดยรถม้าเพื่อชมลำปาง
                - รายการนำเที่ยวเสริมเชิงนิเวศต่างๆ เช่น ขี่ช้าง ล่องแพ
                - รายการนำเที่ยวทางทะเลโดยการพายเรือแคนู
                - รายการนำเที่ยวโดยการล่องแก่งเรือยางในสายน้ำที่ท้าทายความสามารถ

2. โรงแรมหรือที่พัก (Hotel or Lodging)
                การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวนอกจากยานพาหนะแล้ว ที่พักแรมนับเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการท่องเที่ยว เพราะการท่องเที่ยวที่เหน็ดเหนื่อยในแต่ละวันแล้ว นักท่องเที่ยวก็ย่อมต้องการที่พักที่สะดวกสบาย โดยที่พักแรมที่บริษัทนำเที่ยจะเลือกใช้บริการสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท
          ประเภทของโรงแรมหรือที่พัก
                2.1 โรงแรมประเภทธุรกิจ (Commercial Hotels)
                2.2 โรงแรมประจำท่าอากาศยาน (Airport Hotels)
                2.3 โรงแรมประเภทห้องชุด (Suite Hotels)
                2.4 โรงแรมประเภทพักอาศัย (Residential Hotels)
                2.5 โรงแรมเพื่อการพักผ่อน (Resort Hotels)
                2.6 โรงแรมประเภทที่พักกับอาหารเช้า (ฺBed and Breakfast Hotels- B&B)
                2.7 โรงแรมแบบคอนโดมิเนียม (Condominium Hotel)
                2.8 โรงแรมคาสิโน (Casino Hotels)
                2.9 โรงแรมเพื่อการประชุม (Convention Hotels)
                2.10 โรงแรมบูติค (Boutique Hotels)
                2.11 ที่พักประเภทอื่นๆ
                                - ที่พักเยาวชน (Youth Hotels)
                                - คาราวานและแคมปิ้ง (Caravan and Camping)                                - บังกะโล (Bungalow)
                                - ทัวร์ริสฮอลิเดย์ (Tourist Holiday Villages)
                                - คลับเมด
                                - โมเต็ล (Motel)
                                - บ้านพักในหมู่บ้าน หรือบ้านพักในฟาร์ม (Home Stay, Farm Stay)
                                - หอพัก (Hostel, Dormitory)

3. ภัตตาคารหรือร้านอาหาร (Restaurant or Food Shop)
                อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่นักท่องเที่ยวคาดหวังว่าจะได้รับการบริการที่ดีในการเดินทางท่องเที่ยว อย่างน้อยควรดีกว่าที่เขาได้กินอยู่ด้วยตัวเองที่บ้าน โดยบริษัทจะต้องคำนึงถึงคุณภาพ ความสะอาด ความปลอดภัยในการบริโภค ตลอดจนรสชาติและปริมาณอาหารให้เพียงพอกับนักท่องเที่ยว โดยประเภทของภัตตาคารร้านอาหารที่บริษัทนำเที่ยวนิยมนำนักท่องเที่ยวมาใช้บริการ คือ
          ประเภทของภัตตาคารหรือร้านอาหาร
3.1 ภัตตาคารร้านอาหารของท้องถิ่น
3.2 ภัตตาคารที่จัดแสดงให้แขกชมหลังอาหาร หรือระหว่างรับประทานอาหาร
3.3 ภัตตาคารร้านอาหารที่จัดแบบบุฟเฟ่ต์
3.4 ภัตตาคารร้านอาหารที่จัดรายการอาหารแบบเซ็ตมาให้
3.5 ภัตตาคารอาหารจานด่วน

4. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Attraction)
                แหล่งท่องเที่ยวเป็นองค์ประกอบสำคัญประการแรกที่จะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวไปเยือน นักท่องเที่ยวจะเลือกไปยังแหล่งท่องเที่ยวไหนขึ้นอยู่กับนักท่องเที่ยวแต่ละคนว่าชอบแหล่งท่องเที่ยวแบบไหน
ประเภทของสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
          ประเภทของสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
4.1 ประเภทธรรมชาติ
4.2 ประเภทประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ
4.3 ประเภทศิลปวัฒนธรรม กิจกรรม เทศกาล งานประเพณี
          การพิจารณาลเลือกแหล่งท่องเที่ยวของบริษัทนำเที่ยว
                1. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว                2. โครงสร้างพื้นฐาน
                3. ร้านอาหาร                                            4. ความปลอดภัย
                5. อัธยาศัยไมตรีของชาวเมือง                  6. เทศกาลและงานประเพณี


5. บริการนำเที่ยวจากมัคคุเทศก์
                เป็นองค์ประกอบสำคัญมาก เนื่องจากเป็นผู้คอยช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในทุกๆเรื่อง ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่ตรงนี้ บริษัทนำเที่ยวควรเลือกสรรอย่างดี เพื่อให้การจัดนำเที่ยวครั้งนั้นเกิดความประทับใจ
ประเทภของมัคคุเทศก์
5.1 มัคคุเทศก์ทั่วไป (ต่างประเทศ)
5.2 มัคคุเทศทั่วไป (ไทย)
5.3 มัคคุเทศก์ (ต่างประเทศ-เฉพาะพื้นที่)
5.4 มัคคุเทศก์ (ไทย-เฉพาะพื้นที่)
5.5 มัคคุเทศก์เฉพาะ (เดินป่า)
5.6 มัคคุเทศก์เฉพาะ (ศิลปะวัฒนธรรม)
5.7 มัคคุเทศก์เฉพาะ (ทางทะเล)
5.8 มัคคุเทศก์เฉพาะ (ทางทะเลชายฝั่ง)
5.9 มัคคุเทศก์เฉพาะ (แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ)
5.10 มัคคุเทศก์เฉพาะ (วัฒนธรรมท้องถิ่น)

6. แหล่งซื้อของ (Shopping Places)
                การซื้อของเป็นหัวใจสำคัญ เพราะนักท่องเที่ยวทุกคนต้องการซื้อของที่ระลึกเก็บไว้เป็นของส่วนตัวหรือซื้อฝากคนทางบ้าน โดยเฉพาะคนไทยที่มีนิสัยเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่ เมื่อเดินทางไปที่ใดก็จะต้องมีของฝากญาติมิตร
บริษัทนำเที่ยวจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับร้านจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆดังนี้
                6.1 ควรเป็นร้านค้าพื้นเมือง มีสินค้าขึ้นชื่อของสถานที่หรือแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ
                6.2 ควรเป็นร้านที่มีสินค้าคุณภาพ และราคาไม่แพงเกินไป ทางร้านมีความซื่อสัตย์เป็นที่ยอมรับ
                6.3 ควรเป็นร้านที่ตั้งอยู่ในเส้นทางที่สามารถจอดแวะ ให้นักท่องเที่ยวได้แวะซื้อในเส้นทางผ่านที่เหมาะสม
           6.4 หากจัดการเดินทางไปยังต่างประเทศหรือเมืองบริเวณเขตชายแดน ผู้วางแผนจัดรายการนำเที่ยวควรให้เวลาลูกค้าสำหรับเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าปลอดภาษีที่อยู่ตามสนามบิน ตามแหล่งท่องเที่ยวด้านการค้า หรือตามแนวชายแดน
ลักษณะของสินค้าที่ระลึก
          1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่นนั้น และมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ เป็นจุดเด่นที่สามารถเป็นตัวแทนของท้องถิ่นนั้นๆ
          2. เป็นผลิตภัณฑ์ที่หายาก มีแต่ในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เป็นต้นกำเนิด
          3. เป็นผลิตภัณฑ์ราคาถูกเมื่อซื้อในแหล่งผลิตนั้นๆ
          4. เป็นสินค้าที่หาซื้อง่าย
          5. เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุในท้องถิ่นนั้นๆ
          6. เป็นสินค้าที่ได้รับการออกแบบและผลิตอย่างปราณีตงดงาม คุ้มค่าในการซื้อ
          7. เป็นสินค้าที่มีการสาธิตขั้นตอนในการผลิตให้นักท่องเที่ยวชม
          8. เป็นสินค้าที่มีรายละเอียดอธิบายส่วนประกอบต่างๆ ของผลิตภัณฑ์


คุณสมบัติของผู้วางแผนจัดรายการนำเที่ยว
          1. ต้องซื่อสัตย์ ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากสถานประกอบการหรือจากมัคคุเทศก์
          2. วางตัวเป็นกลาง ไม่แอนเอียงเลือกที่รักมักที่ชัง
          3. ต้องมีความสามรถในการรู้จักเรียนรู้ประเภทของลูกค้า และAgent
          4. ต้องจัดงานตามความสามารถของมัคคุเทศก์ ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน
          5. มีความสามารถในการเสนอทางเลือกสินค้าและบริการได้หลากหลาย
          6. สามารถประสานงานได้ดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
          7. มีความอดทน เสียสละ เพื่อให้งานสำเร็จ

จรรยาบรรณของผู้วางแผนจัดรายการนำเที่ยว
          1. ควรจัดตามรายการ ไม่ต้ดทอน หรือเปลี่ยนแปลงรายการ
          2. ไม่จัดทัวร์ผิดกฎหมาย หรือศิลธรรม
          3. มีสามัญสำนึกในการจัดงาน
          4. ไม่วิจารณ์การทำงานของมัคคุเทศก์หรือเพื่อนร่วมงาน
          5. แสดงความจริงใจและความรับผิดชอบในการทำงาน
          6. ไม่เลือกเฉพาะสถานบริการที่ตนเองได้ประโยชน์