วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

HW204 การวางแผนและดำเนินการจัดนำเที่ยว บทที่1




บทที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยว
และการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจจัดนำเที่ยว
ธุรกิจนำเที่ยว
เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการ หรือการให้บริการ หรืออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร ทัศนาจร และ/หรือมัคคุเทศก์ ให้แก่นักท่องเที่ยว

ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
ผู้ได้รับใบอนุญาติประกอบธุรกิจนำเที่ยว ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

ภาพโดย http://newdot2.samartmultimedia.com/home/details/6/189/2218

----------------------------------------------------------------

ธุรกิจจัดนำเที่ยว (Tour Operator)
                ธุรกิจจัดนำเที่ยว หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการจัดนำเที่ยว ทั้งภายในประเทศหรือไปต่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นตัวแทนท่องเที่ยว รับจัดขายตั๋วเครื่องบิน รถไฟ หรือรับจองโรงแรมไปในตัวด้วย
          ซึ่งจัดนำเที่ยวประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
                1. จัดโปรแกรมนำเที่ยวขายโดยตรงให้กับลูกค้าทั่วไป
                2. จัดโปรแกรมนำเที่ยวโดยขายผ่านบริษัทตัวแทนท่องเที่ยว
                3. จัดโปรแกรมนำเที่ยวโดยผ่านบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศ
                4. จัดโปรแกรมนำเที่ยวตามความต้แงการของหน่วยงานหรือองค์กร

สาเหตุที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกใช้บริการกับบริษัทนำเที่ยว
1. ประหยัดค่าใช้จ่าย                                       2. สะดวกสบายทั้งกายและใจ
3. ปลอดภัย                                                     4. มีความรับผิดชอบ
5. มีคนคอยบริการ                                          6. ได้เพื่อนใหม่
7. รู้แหล่งซื้อของ                                            8. ได้รับความรู้
9. มีกำหนดการเดินทางที่แน่นอน                  10. สามารถประมาณค่าใช้จ่ายล่วงหน้าได้
11. ประหยัดเวลาการเดินทาง

สรุปเหตุผลที่นักท่องเที่ยวนิยมใช้บริการกับบริษัทนำเที่ยว
เหตุผลที่นักท่องเที่ยวนิยมใช้บริการกับบริษัทนำเที่ยว (Mancini, 1990:2)
                1. เวลาไปเที่ยวไม่ต้องกังวลเรื่องต่างๆ
                2. ต้องการประหยัดเงินและเวลา
                3. บริษัทนำเที่ยวจะจัดรายการนำเที่ยวได้น่าสนใจ
                4. ได้รับความรู้ในด้านต่างๆ
                5. บางจุดหมายปลายทาง การไปกับบริษัทนำเที่ยวจะทำให้เกิดความราบรื่น สะดวกสบายกว่า


----------------------------------------------------------------

ธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยว
                ธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยว (Travel Agent) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งกิจการดำเนินงานเกี่ยวกับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว รับจองตั๋วเครื่องบิน รถไฟ และที่พัก ตลอดจนเป็นตัวแทนขายโปรแรมนำเที่ยวให้กับบริษัทนำเที่ยว
                การดำเนินงานของธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยวเปรียบเสมือนเป็นตัวกลางระหว่างลูกค้ากับผู้ประกอบการธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยว เช่น สายการบิน บริษัทเดินเรือ โรงแรม เป็นต้น
                  1. เป็นตัวแทนขายสินค้าการท่องเที่ยว
                  2. เป็นผู้จัดนำเที่ยวให้กับลูกค้าโดยตรง

                ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทจัดนำเที่ยวกับบริษัทตัวแทนท่องเที่ยว
                  - บริษัทนำเที่ยว หมายถึง องค์กรหรือหน่วยงานทำการผลิตรายการนำเที่ยว หรือ Package Tour
             - บริษัทตัวแทนท่องเที่ยว หมายถึง องค์กรหรือหน่วยงานที่รับหรือนำ Package Tour ที่ผลิตโดยบริษัทนำเที่ยวมาขาย



ความแตกต่างระหว่างบริษัทจัดนำเที่ยวกับบริษัทตัวแทนท่องเที่ยว

 ธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยว Travel Agent
 ธุรกิจจัดนำเที่ยว Tour operator
 1. ขายสินค้าบริการแทนผู้ผลิตดดยได้รับค่าตอบแทนในรูปของนายหน้า
2. ไม่ต้องรับผิดชอบในสินค้าและบริการนั้นๆ
3. ถือเป็นผู้ค้าปลีก
4. ขายสินค้าแทนผู้ผลิตได้หลายๆราย
1. ซื้อส่วนต่างของสินค้าจากผู้ผลิตในราคาที่ลดแล้วนำมาขายต่อทำกำไร
2. รับผิดชอบในสินค้าที่ผลิตขึ้น
3. ถือว่าเป็นผู้ผลิต
4. ติดต่อโดยตรงกับผู้บริโภคน้อยกว่า (นอกจากเปิดกิจการค้าปลีกเอง)


----------------------------------------------------------------


โครงสร้างการบริหารงานของบริษัทนำเที่ยว

1. ความสำคัญในการจัดโครงสร้างของธุรกิจนำเที่ยว
          ธุรกิจนำเที่ยวจะมีแผนที่รับผิดชอบงานที่ทีหน้าที่แตกต่างกัน แต่จะมีความเกี่ยวข้องกันเป็นลูกโซ่ การมีแผนผังโครงสร้างการบริหารงาน การแบ่งงานในหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ตามกำลังความสามารถจะมีส่วนช่วยให้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ฝ่ายงานในบริษัทนำเที่ยวและหน้าที่รับผิดชอบ
          2.1 แผนกบุคคลและมัคคุเทศก์ มีหน้าที่บริหารงานบุคคลภายในบริษัท จัดหามัคคุเทศก์ที่มีความเหมาะสมกับรายการนำเที่ยว
          2.2 แผนกจัดนำเที่ยวอิสระ มีหน้าที่จัดบริการนำเที่ยวเฉพาะบุคคลหรือครอบครัว
          2.3 แผนกจัดนำเที่ยวเป็นกลุ่ม และเพื่อเป็นรางวัล มีหน้าที่จัดบริการนำเที่ยวเฉพาะกลุ่ม หรือการนำเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงาน
          2.4 แผนกจัดรายการนำเที่ยว มีหน้าที่จัดรายการนำเที่ยวต่างๆ เป็น Package Tour ครบวงจร
          2.5 แผนกจัดนำเที่ยวภายในประเทศ (Inbound) มีหน้าที่จัดนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวเมืองไทย
          2.6 แผนกจัดนำเที่ยวนอกประเทศ(Outbound) มีหน้าที่จัดนำเที่ยวให้คนในประเทศไปเที่ยวยังต่างประเทศ 
          2.7 แผนกจัดนำเที่ยวไทยภายในประเทศ (Domestic) มีหน้าที่จัดนำเที่ยวให้กับคนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศ
          2.8 แผนกบริหาร มีหน้าที่วางนโยบายการทำงานของบริษัทกับแผนกอื่นๆ ดูแลงานด้านธุรกิจทั้งหมด และดูแลงานเกี่ยวกับบุคลากร
2.9 แแผนกขายและการตลาด มีหน้าที่ศึกษาข้อมูลทางการตลาด จัดทำแผนการตลาด ขายสินค้าต่างๆของบริษัท
2.10 *แผนกปฏติบัติการนำเที่ยว (Tour operator) มีหน้าที่สำรองบริการกับผู้ประกอบการธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยว ประสานงานเรื่องการเดินทาง การคิดต่นทุน กำหนดราคาขาย จัดหาผู้นำเที่ยว และอื่นๆ
2.11 แผนกยานพาหนะ มีหน้าที่ติดต่อเช่ายานพาหนะในการเดินทาง จัดมอบหมายให้คนขับรถไปกับนักท่องเที่ยว
2.12 แผนกเอกสารธุรการ มีหน้าที่ทำงานด้านธุรการต่างๆ
2.13 แผนกรับจองและขาย มีหน้าที่รับจองจากลูกค้า ออกเสนอขายสินค้าของบริษัท
2.14 แผนกแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ มีหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศให้แก่ลูกค้า(Inbound)


รูปแบบโครงสร้างการบริหารงานของบริษัทนำเที่ยว

1. โครงสร้างการบริหารงานแบบแนวตั้ง

เป็นโครงสร้างที่เน้นบุคคลเดียวให้สามารถทำหน้าที่ทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนจบ
ผลดี
1. ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบงานจะเป็นผู้ที่รู้จักสินค้าเป็นอย่างดี
2. สามารถคุมโครงการได้
3. เป็นการเน้นความสามารถพิเศษ
ผลเสีย
1. คนเดียวไม่น่าจะมีความสามรถทุกอย่างลึกซึ้ง
2. เมื่อเกิดเจ็บป่วยไม่มีใครสามารถทำแทนได้

- พบกับองคงค์กรที่จัดนำเที่ยวเพื่อติดตามผลหรือหารือสำหรับการจัดนำเที่ยวปีต่อไป
- ประเมินผลการนำเที่ยวจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม
- ประเมินผลกำไรขาดทุนหลังสิ้นสุดการเดินทาง
- เดินทางไปกับกลุ่มในฐานะผู้นำเที่ยว
- เตรียมเอกสารและคำแนะนำสำหรับการเดินทาง
- เตรียมเอกสารสำหรับลูกค้า
- ยืนยันครั้งสุดท้ายสำกับธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยว
- ติดต่อธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวกับเอกสาร ข้อตกลง
- ให้รายละเอียดแก่ผู้ที่สนใจ รับจอง และขายสินค้า
- การตลาด ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย
- จัดทำเอกสารนำเที่ยว วางแผนทางการตลาด
- คิดราคาต้นทุน กำไร เพื่อกำหนดราคา
- ติดต่อธุรกิจผลิตสินค้าบริการการท่องเที่ยว
- เขียนรายการนำเที่ยว
- จัดวางแผนการจัดนำเที่ยว

2. โครงสร้างการบริหารงานแบบแนวนอน

เป็นการจัดโครงสร้างตามการบริหารงาน หน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงาน โครงสร้างรูปแบบนี้จัดดำเนินการในบริษัทนำเที่ยวขนาดใหญ่ ที่มีบุคลากรจำนวนมาก แต่ละแผนกจะรับผิดชอบเฉพาะงาน


3. โครงสร้างการบริหารงานแบบผสม

บริษัทนำเที่ยวบางบริษัทอาจจะใช้รวมโครงสร้างแบบแนวตั้ง และแนวนอนไว้ด้วยกัน จะให้มีน้อยแผนกแต่มากหน้าที่


----------------------------------------------------------------

การวางแผนการจัดนำเที่ยว (การทำโปรแกรมทัวร์)
                การวางแผน หมายถึง กระบวนการดำเนินการที่กำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือหน่วยงานเพื่อปฏิบัติการภารกิจใดๆ ที่กำหนดไว้ให้บรรลุได้ในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
                การวางแผนจัดนำเที่ยว หมายถึง การวางแผนและการตัดสินใจเลือกองค์ประกอบในการจัดนำเที่ยวที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด จากสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องแต่ละด้าน

การวางแผนการจัดนำเที่ยวสำหรับคนทั่วไป
คำพูดที่ได้ยินบ่อยๆ จากนักท่องเที่ยวที่ขาดการวางแผนการเดินทางล่วงหน้า เช่น
1. ไม่นึกว่าจะหนาวขนาดนี้
2. เราโดนร้านค้าหลอกขายของแพง
3. ฉันหาซื้อของฝากที่ถูกใจไม่ได้
4. ตังหมดแล้วเที่ยวไม่สนุกเลย
5. ทำไมค่าห้องแพงจัง รู้อย่างนี้นอนอยู่กับบ้านดีกว่า
6. โหย! คนอย่างกับมด แน่นมาก หมดสนุกเลย
7. ว้า! วันนี้เขาปิดทำการ ทำไงดี จะไปที่ไหนต่อล่ะทีนี้
8. ไม่เห็นมีอะไรเลย สวยก็ไม่สวย มาทำไมก็ไม่รู้

การเตรียมความพร้อมด้านข้อมูล
ดังนั้นการเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลก่อนที่จะเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเองสามารถทำได้ง่ายๆ คือ
1. สอบถามจากผู้รู้ หรือผู้ที่เคยเดินทางมาแล้ว
2. สอบถามจากสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวต่างๆ
3. ศึกษาจากแหล่งหนังสือเอกสารต่างๆ



ข้อมูลที่ควรรู้ล่วงหน้าเพื่อใช้ในการวางแผนล่วงหน้าด้วยตนเอง
1. ภูมิประเทศ ภูมิอากาศของสถานที่ท่องเที่ยว
     - เป็นภูเขา
     - เป็นทะเล
5. ค่าใช้จ่าย

2. การเดินทาง
     - เส้นทางเป็นแบบใด
     - จะเดินทางต่อไปยังสถานที่อื่นได้อย่างไร
     - ไปโดยยานพาหนะแบบไหน ใช้เวลาเท่าไร่
     -จะขับรถไปเอง หรือจองล่วงหน้ากี่วัน
6. ข้อควรระวัง
     - ห้ามใส่รองเท้าเข้าอุโบสถของวัด ห้ามกอดจูด
     - ห้ามแตะต้องหญิงสาวของชนเผ่า

3. การกินอยู่
     -มีร้านค้าในแหล่งท่องเที่ยว หรือระหว่างทางไหม
     -ในแหล่งท่องเที่ยวมีร้านขายอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวไหม
7. ของใช้ส่วนตัวต่างๆ

4. ที่พัก
     - ได้บ้านหลัง หรือเต้น หรือโรงแรมหรู
     - จะเลือกแบบถูกแต่ไกล หรือแบบใกล้แต่แพง
8. ความสามารถหรือศักยภาพส่วนตัว
     - ระยะเวลาการท่องเที่ยว
     - รายได้ ค่าใช้จ่าย
     - สภาพร่างกาย
     - ภาษา


การประเมินตนเองเพื่อวางแผนการท่องเที่ยว
                ทั้งนี้การวางแผนท่องเที่ยวด้วยตนเองให้ผลดีได้นั้น ก่อนอื่นต้องรู้ตัวเองก่อนว่าต้องการท่องเที่ยวรูปแบบใด เพราะจะส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมในการท่องเที่ยวครั้งนั้นๆ
1. ชอบสบายๆ ไปนอนเล่นแล้วก็ตื่นสายๆ
2. ชอบเที่ยวปราสาทโบราณสถานเก่าๆ แล้วนึกถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต
3. ชอบเที่ยวตามเทศกาล สวนสนุก ที่มีคนเยอะๆ ชอบความครึกครื้น
4. ชอบซื้อของเป็นชีวิตจิตใจ
5. ชอบไปดูพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์
6. ชอบอาบน้ำแร่ แช่น้ำตก เที่ยวเชิงสุขภาพ
7. ชอบแบบลุยๆ ท้าทายความสามารถ
8. ชอบเล่นกีฬา วินเซิร์ฟ เรือใบ สกูตเตอร์

ประโยชน์และความสำคัญของการวางแผนจัดนำเที่ยวต่อธุรกิจนำเที่ยว
1. เป็นการเตรียมการเพื่อจองสถานประกอบการต่างๆ ให้พร้อมและชัดจน
2. เป็นการจัดเตรียมการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้นำเที่ยว
3. เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความรับผิดชอบในการจัดนำเที่ยวอย่างเป็นระบบ
4. ได้สามารถปรับตัว รู้เท่าทัน สามารถจัดวางแผนจัดนำเที่ยวของตนเองให้เหนือกว่าคู่แข่ง
5. สามารถประมาณค่าใช้จ่ายได้ถูกต้อง ชัดเจน
6. ได้รู้สภาพทั่วไปในเรื่องต่างๆ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการเสนอขาย
7. เป็นการสร้างสัมพันธ์โดยตรงที่ดีให้เกิดข้นกับสถานประกอบการ
8. เป็นกระบวนการเพื่อให้ทกฝ่ายทราบถึงทิศทางและแนวทางในการปฏิบัติ
9. เป็นการป้องกัน หรือลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นต่อการทำงานในอนาคต
10. การวางแผนทำให้เกิดการประหยัด เพราะได้เลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุด


(-)ปัจจัยด้านลบที่ส่งผลกระทบต่อการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว
1. สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนไป
2. คู่แข่งทำการตลาดช่วงชิงการได้เปรียบ
3. ไม่สามารถหาสถานประกอบการได้ตามที่ต้องการ
4. ผู้วางแผนทำงานผิดพลาดไม่มีความสามารถเพียงพอ
5. ลูกค้าเกิดการเปลี่ยนใจกระทันหัน
6. มีสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเกิดขึ้น เช่น เกิดโรคระบาด
7. ผู้วางแผนหรือผู้ประสานงานเดิมมีปัญหา
8. บางครั้งมีข้อจำกัดเรื่องความต้องการของนักท่องเที่ยวไม่สอดคล้องกับความสามารถในการจัดการและระยะเวลาที่มี
9. สถานประกอบการที่เกี่ยวข้องทำงานผิดพลาด
10. ผู้เกี่ยวข้องทำงานเพื่อผลประโยชน์ต่อตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่มีต่อบริษัท

(+)ปัจจัยด้านบวกที่เอื้อต่อการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว
1. สภาพภูมิอากาศเป็นใจ
2. มีตัวแทนจำหน่ายที่ซื่อสัตย์ มีคุณภาพ ไม่ทำทัวร์ศูนย์เหรียญ
3. ลูกค้ามีงบประมาณสูง เจรจาง่าย ไม่เรื่องมาก
4. ผู้วางแผนจัดนำเที่ยวมีความรู้ มีประสบการณ์สูง
5. บริษัทนำเที่ยวได้รับความไว้วางใจจากสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง (มีเครดิต)
6. บริษัทมีภาพพจน์ที่ดี ชื่อเสียงที่ดี เช่น ถ้าไปเที่ยวญี่ปุ่นเราก็จะนึกถึง HIS
7. บริษัทจัดนำเที่ยวมีสินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์

8. ได้ช่วงเวลาเดินทางท่องเที่ยวที่เหมาะสม

ผลลของการวางแผนจัดรายการนำเที่ยวที่ดี
1. มีนักท่องเที่ยวสนใจและตอบรับในรายการนำเที่ยวนั้นอย่างดี
2. บริษัทนำเที่ยวมีกำไรไม่ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้

3. มัคคุเทศก์สามารถนำเที่ยวได้ตามโปรแกรมอย่างไหลลื่นไม่ติดขัด











































































1 ความคิดเห็น: